โคลงกำสรวลศรีปราชญ์Insight into Ourselves
สรุปภาพรวมของหน่วยการเรียนรู้ / Unit Summaryนักเรียนเรียนรู้รูปแบบของโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ จุดประสงค์ของผู้แต่ง ความหมายของแต่ละบท ลักษณะของคนประเภทต่างๆ ในสังคมสมัยก่อน สำนวนโวหารเปรียบเทียบ คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์และคุณค่าด้านสังคม มีความรู้เพิ่มเติม จากเว็บไซต์ที่ครูกำหนดให้ และเว็บไซต์ที่นักเรียนเลือกเอง จัดทำชิ้นงานโดยเลือกโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ จำนวน 1 บท เพื่ออธิบายความหมาย วิเคราะห์โคลง ข้อคิดและคุณค่าที่ได้รับและเปรียบเทียบกับคนในสังคมปัจจุบัน จากนั้น แต่งคำประพันธ์สะท้อนลักษณะของคนในปัจจุบันเป็นโคลงสี่สุภาพ สื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ อ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ค้นคว้ามาด้วยเอกสาร และเว็บไซต์ต่างๆ และนำเสนอด้วยโปรแกรม เพาเวอร์ พอยต์ จากนั้นนักเรียนจะนำเสนอภาพวีรบุรุษในดวงใจถ่ายทอดออกเป็นแสตมป์ที่ระลึก
มาตรฐานการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระที่ ๑ การอ่าน
มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดในการตัดสินใจ แก้ปัญหาและสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน
สาระที่ ๒ การเขียน
มาตรฐาน ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความและเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานสาระสนเทศและรายงานการศึกษา ค้นคว้า อย่างมีประสิทธิภาพ
สาระที่ ๓ การฟัง การดู และการพูด
มาตรฐาน ท๓.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษา
มาตรฐาน ท๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษา และพลังของภาษาภูมิปัญญาทางภาษาและรักษาภาษาไว้เป็นสมบัติของชาติ
มาตรฐาน ท๔.๒ สามารถใช้ภาษาแสวงหาความรู้ เสริมสร้างลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรม อาชีพ สังคม และชีวิตประจำวัน
สาระที่ ๕ วรรณคดีและวรรณกรรม
มาตรฐาน ท ๕.๑ เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่า และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
คำถามเพื่อกำหนดกรอบการเรียนรู้ / Curriculum-Framing Questions
Essential Question: คำถามสร้างพลังคิดวรรณกรรมช่วยให้เราเข้าใจตัวเองดีขึ้นได้อย่างไร
Unit Question: คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้สังคมสะท้อนลักษณะของคนอย่างไร
Content Questions: คำถามประจำบทเรียนคุณลักษณะของคนในโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ เป็นอย่างไรรูปแบบของโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ คืออะไรผู้แต่งเรื่องโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ มีจุดประสงค์อย่างไรแต่ละบทในโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ มีความหมายอย่างไรองค์ประกอบของโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ เป็นอย่างไรโวหารเปรียบเทียบในโคลงกำสรวลศรีปราชญ์มีอะไรบ้างคุณค่าด้านวรรณศิลป์และด้านสังคมในโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ มีอะไรบ้างลักษณะของคนในเรื่องโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ สอนเราได้อย่างไรแนวคิดสำคัญอะไรที่นักเรียนจะนำไปแต่งโคลงสี่สุภาพหรือเลือกคำประพันธ์มาสนับสนุนเราจะสื่อสารความหมายของโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ เป็นภาษาอังกฤษได้อย่างไร
ขั้นตอนการสอน / Instructional Proceduresทดสอบก่อนเรียน ข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบ เรื่องโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ จำนวน 15 ข้อเกริ่นนำ
นำเหตุการณ์ตามข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ที่บ่งบอกให้เห็นถึงลักษณะของคน ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่าคนที่เป็นข่าวดังกล่าวเขาเป็นคนอย่างไร มีพฤติกรรมใดที่ไม่ดี ถ้าเขาเป็นคนที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคม เหตุการณ์ดังกล่าวต้องไม่เกิดขึ้น ครูให้นักเรียนมาดูคำถามสร้างพลังคิดของเรื่องที่เรากำลังเรียนที่ว่า “วรรณกรรมช่วยให้เข้าใจตัวเองดีขึ้นได้อย่างไร” ให้นักเรียนจดบันทึกคำตอบตลอดหน่วยการเรียนรู้นี้ และกำลังจัดทำผลงานว่า นักเรียนได้รับตอบคำถามดังกล่าวได้หรือไม่
จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ครูและนักเรียนร่วมกันศึกษาโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนตามเอกสารที่กำหนดให้ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับ รูปแบบ จุดประสงค์ผู้แต่ง ความหมายของถ้อยคำ สำนวน โวหาร องค์ประกอบ คุณค่าด้านวรรณศิลป์ และคุณค่าด้านสังคม ลักษณะของคนที่สะท้อนอยู่โคลงกำสรวลศรีปราชญ์ แนวคิดที่ได้ และหลักการแต่งคำประพันธ์ประเภทโคลงให้ตัวอย่าง
นำเสนอตัวอย่างโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ จัดทำด้วยโปรแกรม เพาเวอร์พอยต์ บอกชื่อเรื่องที่นำเสนอ บทที่นำเสนอ ความหมาย ประเภทของสำนวนโวหาร คุณค่าด้านวรรณศิลป็ คุณค่าทางด้านสังคม การวิเคราะห์ลักษณะของคนในโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ เปรียบเทียบกับปัจจุบัน ใช้ภาพประกอบในแต่ละกรอบเพื่ออธิบายเนื้อความ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น แสดงความคิดเห็น หรือแนวคิดสำคัญที่ต้องการจะบอกสังคม และลักษณะของคนที่สังคมคาดหวัง แต่งคำประพันธ์เป็นโคลงสี่สุภาพ 1 บท ที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่วิเคราะห์ พร้อมทั้งแปลเป็นภาษาอังกฤษ
แนะแนวทาง
ให้นักเรียนค้นคว้าเว็บไซต์ตามที่เสนอแนะและเว็บไซต์อื่นๆ เกี่ยวกับโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ นักเรียนอาจค้นคว้าเพิ่มเติมได้อีก หรือศึกษาสถานที่จริง ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อให้ข้อมูลที่จะนำมาจัดทำผลงานนำเสนอสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในการนำข้อมูลจากเว็บไซต์มานักเรียนจะต้องอ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
ครูอธิบายขั้นตอนการจัดผลงานด้วยเพาเวอร์ พอยต์ วิธีการจัดทำ กำหนดวัดส่งผลงาน และกำหนดวันในการนำเสนอ พร้อมแจกเกณฑ์การประเมินผลงานเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำให้ได้ดีที่สุด
นักเรียนเลือกทำงานเป็นคู่ และ เลือกโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ 1 บท เตรียมจัดทำผลงานนำเสนอ (PPT 51KB) โดยศึกษาเอกสารเพิ่มเติม คือ หนังสือเจาะลึกโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ และค้นคว้าข้อมูลต่างๆ จากเว็บไซต์ต่างๆ ทางอินเตอร์เน็ต
การนำเสนอ
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ กลุ่มละไม่เกิน 3 นาที ตามหัวข้อต่อไปนี้
แนะนำชื่อเรื่องของบทที่นำเสนอและเกริ่นนำเพื่อเข้าสู่เนื้อเรื่อง
อ่านทำนองเสนาะของโคลงบทที่เลือก บอกความหมาย และประเภทของสำนวนโวหารที่ปรากฏอยู่ในโคลงบทนี้
บอกคุณค่าด้านวรรณศิลป์ และคุณค่าทางด้านสังคม ที่นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์
วิเคราะห์ลักษณะของคนในโคลงกำสรวลศรีปราชญ์เปรียบเทียบกับปัจจุบัน
แนวคิดสำคัญ ข้อคิด และประโยชน์ที่ได้รับจากการวิเคราะห์โคลงบทนี้
แต่งโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ 1 บทตามแนวคิดข้างต้น
สื่อความหมายของโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ที่แต่งใหม่ เป็นภาษาอังกฤษ
การนำเสนอควรมีภาพประกอบที่สอดคล้องและเหมาะสมโดยคำนึงถึงแนวคิดที่ว่า ภาพหนึ่งภาพแทนคำอธิบายได้เป็นพันๆ คำ
เชิญครูสอนศิลปะมาให้คำแนะนำเรื่องการออกแบบ โดยนักเรียนแต่ละคนจะต้องสะท้อนวีรบุรุษของตนเองออกมาในแสตมป์ และนำเสนอมุมมองต่าง ๆ ที่สะท้อนอยู่ในผลงานนั้น
วัดและประเมินผล
ครูและนักเรียนทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะจากการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่ม ตามเกณฑ์ที่กำหนด พร้อมทั้งให้คะแนนเพื่อน
ครูสรุปผลการประเมินตามแบบประเมินโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ เพื่อให้นักเรียนได้ปรับปรุงและพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น
ครูรวบรวมผลงานของนักเรียนที่ได้รับการประเมินแล้ว เผยแพร่ทางเว็บไซต์ในโอกาสต่อไป ทดสอบหลังเรียน ข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบ เรื่องโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ จำนวน 15 ข้อ ชุดเดียวกับทดสอบก่อนเรียน
ทักษะพื้นฐานเดิมของนักเรียน / Prerequisite Skills
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรม เพาเวอร์ พอยต์ และการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
การดัดแปลงตามสภาพการสอนที่แตกต่างกัน / Differentiated Instructionนักเรียนที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ:
ให้นักเรียนทำตามแบบในตัวอย่าง เพาเวอร์ พอยต์ และกำหนดเวลาให้ทำมากขึ้น และกำหนดเกณฑ์การประเมินขั้นต่ำแตกต่างจากนักเรียนที่เรียนในระดับปกติ ให้คำปรึกษา และดูแลกำกับการจัดทำผลงานอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ และจัดเตรียมให้นักเรียนบางคนนอกเวลาเรียน
นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ:
ให้นักเรียนสามารถนำเสนอผลงานที่หลากหลาย ลึกซึ้งมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดให้ เพิ่มเติมการค้นคว้าด้วยตนเอง โดยให้นักเรียนเลือกกิจกรรมการค้นคว้าด้วยตนเองเป็นกิจกรมที่เปิดกว้าง
การประเมินนักเรียน / Assessment Processes
การประเมินนักเรียนใช้วิธีการทดสอบก่อนและหลังเรียน สอบถาม แสดงความคิดเห็น และดูผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ ตามเกณฑ์การประเมิน และให้นักเรียนได้มีโอกาสประเมินตนเอง และให้เพื่อนประเมิน
ใช้แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังให้นักเรียน
ใช้เกณฑ์การประเมินแบบรูบริค (DOC 50.5KB)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น